เมนู

คาถาที่ 6


คาถาว่า อามนฺตนา โหติ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
อำมาตย์ทั้งหลายได้เข้าไปเฝ้า ในสมัยเป็นที่บำรุงใหญ่ ของพระเจ้า-
กรุงพาราณสี ในอำมาตย์เหล่านั้น อำมาตย์คนหนึ่ง ทูลขอการไปในที่สุดส่วน
หนึ่งว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ สิ่งที่พึงฟังมีอยู่ดังนี้ เขาก็ลุกไป. คนหนึ่งทูล
ขอกะพระองค์ผู้ประทับนั่งในที่บำรุงใหญ่อีก คนหนึ่งทูลขอช้างกะพระองค์ผู้
ประทับนั่งบนคอช้าง คนหนึ่งทูลขอม้ากะพระองค์ผู้ประทับนั่งบนหลังม้า คน
คนหนึ่งทูลขอรถทองกะพระองค์ผู้ประทับนั่งในรถทอง คนหนึ่งทูลขอวอกะ
พระองค์ผู้ประทับนั่งในวอแล้วไปสู่อุทยาน พระราชาเสด็จลงจากวอประทาน
ให้ คนอื่นทูลขอกะพระองค์ผู้กำลังเสด็จไปสู่จาริกในชนบท พระราชาทรงสดับ
คำของตนแม้นั่น เสด็จสงจากคอช้าง เสด็จไปสถานที่แห่งหนึ่ง.
พระองค์ทรงเอือมระอาด้วยอำมาตย์เหล่านั้น อย่างนี้แล้ว ทรงผนวช
อำมาตย์ทั้งหลายเจริญด้วยอิสริยยศ ในอำมาตย์เหล่านั้น อำมาตย์คนหนึ่ง
ไปทูลกะพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงพระราชทานชนบท ชื่อโน้น
ให้แก่ข้าพระองค์ พระราชาตรัสว่า คนชื่อนี้ปกครองชนบทนั้นอยู่ เขาไม่
เอื้อเฟื้อพระดำรัสของพระราชาแล้วทูลว่า ข้าพระองค์จะไป จะยึดชนบทนั้น
ครอบครองดังนี้แล้ว ไปในชนบทนั้นทำการทะเลาะ แม้ทั้งสองมาสู่พระราช
สำนักอีก ทูลบอกโทษของกันและกัน พระราชาทรงพระราชดำริว่า เราไม่อาจ
ให้คนทั้งสองนี้ให้ยินดีได้ ทรงเห็นความโลภของอำมาตย์เหล่านั้น ทรงเห็น
แจ้ง ทรงทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณ และพระองค์ทรงเปล่งอุทานนี้ โดยนัย
ก่อนนั้นแลว่า

อามนฺตนา โหติ สหายมชฺเฌ
วาเส ฐาเน คมเน จาริกาย
อนภิชฺฌิตํ เสริตํ เปกฺขมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

การปรึกษาในที่อยู่ ที่ยืน ในการไป
ในการเที่ยว ย่อมมีในท่ามกลางแห่งสหาย
บุคคลเพ่งความประพฤติ ตามความพอใจ
ที่พวกบุรุษชั่วไม่เพ่งเล็งแล้ว พึงเที่ยวไป
แต่ผู้เดียว เหมือนนอแรดฉะนั้น ดังนี้.

เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า การปรึกษาโดยประการนั้น ๆ โดยนัยว่า
ท่านจงฟังสิ่งนี้ของข้าพเจ้า ท่านจงให้สิ่งนี้แก่ข้าพเจ้าเป็นต้น. ในที่อยู่กล่าวคือ
ที่พักกลางวัน ในการยืนกล่าวคือการบำรุงใหญ่ ในการไปกล่าวคือการไปสู่
อุทยาน ในการเที่ยว กล่าวคือการเที่ยวในชนบท ย่อมมีแก่บุคคลผู้ดำรงอยู่
แล้ว ในท่ามกลางแห่งสหาย เพราะฉะนั้น เราเบื่อหน่ายในการปรึกษาใน
ท่ามกลางแห่งสหายนั้น เมื่อเล็งเห็นการบรรพชาที่มีอานิสงส์มาก มีสุขโดย
ส่วนเดียว อันอริยชนเสพแล้ว แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็เป็นบรรพชาที่พวกคน
ชั่วทั้งปวง ซึ่งถูกความโลภครอบงำแล้ว ไม่ต้องการ ไม่ปรารถนา และ
เพ่งความประพฤติตามความพอใจ ด้วยการไม่ตกอยู่ในอำนาจของบุคคลอื่น
และด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้เป็นอยู่ด้วยธรรมที่พวกบุรุษชั่วไม่เพ่งเล็งแล้ว
ปรารภวิปัสสนา ได้บรรลุปัจเจกสัมโพธิญาณ โดยลำดับ. บทที่เหลือมีนัย
ดังกล่าวแล้วนั่นแล.
อามันตคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 7


คาถาว่า ขิฑฺฑา รติ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ในกรุงพาราณสี มีพระราชา พระนามว่า เอกปุตติกพรหมทัต ก็
พระราชโอรสพระองค์เดียวนั้น เป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัย เป็นผู้เสมอด้วย
ชีวิตของพระองค์ พระองค์ได้พาพระราชโอรสเป็นไปในพระอิริยาบถทั้งปวง
ในวันหนึ่ง พระองค์เมื่อเสด็จไปสู่พระราชอุทยาน ไม่ทรงพาพระราชโอรสนั้น
เสด็จไป. พระกุมารสิ้นพระชนม์ ด้วยพยาธิซึ่งเกิดขึ้นในวันนั้นเท่านั้น อำมาตย์
ทั้งหลายคิดว่า แม้พระหทัยของพระราชาพึงแตก เพราะความเสน่หาในพระ-
ราชโอรส จึงไม่ทูลบอก พากันถวายพระเพลิงพระราชโอรสนั้นเสีย พระราชา
ทรงเมา ด้วยความเมาในน้ำจัณฑ์ในพระราชอุทยาน จึงไม่ทรงระลึกถึงพระ
ราชโอรส ในเวลาทรงสนานและเสวยเป็นต้น แม้ในวันที่สอง ก็ทรงระลึกไม่
ได้เหมือนกัน. ลำดับนั้น ทรงเสวยพระกระยาหาร ประทับนั่งแล้ว ทรงระลึกได้
จึงตรัสว่า จงนำบุตรให้แก่เรา พวกอำมาตย์ทูลบอกเรื่องนั้น โดยวิธีอันสมควร
แด่พระองค์.
ตั้งแต่นั้น พระราชาถูกความโศกครอบงำ ประทับนั่งเท่านั้น ทรง
กระทำให้พระทัยโดยแยบคายว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ก็เกิด
ดังนี้ พระองค์ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท ทั้งอนุโลมและปฏิโลม โดยลำดับ
อย่างนี้ ทรงกระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกสัมโพธิญาณ. บทที่เหลือเป็นเช่นกับที่
กล่าวแล้วในสังสัคคคาถานั้นแล เว้นอรรถวัณณนาแห่งคาถา.
ก็ในอรรถวัณณนา บทว่า ขิฑฺฑา ได้แก่ การเล่น. การเล่นนั้น
มี 2 อย่าง คือ การเล่นทางกาย 1 การเล่นทางวาจา 1. การเล่นมีอาทิ